SINTEF จากนอร์เวย์ และ อินทรี อีโคไซเคิล หาทางลดขยะพลาสติกสู่ทะเล

9 มิถุนายน 2567

ลดการรั่วไหลของขยะพลาสติกลงสู่ทะเลและมหาสมุทรได้อย่างมีประสิทธิภาพ คาดการณ์ว่ากระบวนการเผาร่วม (co-processing) ของโรงงานผลิตปูนซีเมนต์เหล่านี้สามารถลดการใช้ถ่านหินและช่วยป้องกันขยะพลาสติกรั่วไหลลงสู่มหาสมุทรอย่างน้อย 100,000 ตันต่อปี มุ่งหน้าสู่การแก้ไขปัญหาขยะที่ยั่งยืนและเป้าหมายสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน  

โครงการ OPTOCE จัดตั้งโดยสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งนอร์เวย์ (SINTEF) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนาเพื่อต่อสู้กับขยะและไมโครพลาสติกในทะเลของรัฐบาลนอร์เวย์ มุ่งศึกษาและหาแนวทางในการกำจัดขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้และลดการรั่วไหลของขยะพลาสติกลงสู่ทะเลและมหาสมุทร โดยมีความร่วมมือในการดำเนินโครงการวิจัยในหลายประเทศ

SINTEF จากนอร์เวย์ และ อินทรี อีโคไซเคิล หาทางลดขยะพลาสติกสู่ทะเล

รวมทั้ง 4 ชาติพันธมิตรในเอเชีย ได้แก่ จีน อินเดีย ไทย และเวียดนาม ศึกษาขยะพลาสติกหลากหลายชนิดที่ไม่สามารถรีไซเคิล หรือมีมูลค่าต่ำไม่คุ้มทุนในการนำไปรีไซเคิลในปริมาณมาก รวมถึงค้นหาโอกาสและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของอุตสาหกรรมซีเมนต์ในการบริหารจัดการขยะพลาสติกในประเทศไทยและทั่วภูมิภาค เพื่อหาแนวทางกำจัดที่เหมาะสมและสามารถแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรอย่างยั่งยืน

สำหรับโครงการในประเทศไทย สถาบันวิจัย SINTEF ได้ร่วมมือกับ บริษัท อินทรี อีโคไซเคิล ทำการศึกษาศักยภาพของกระบวนการนำพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้มาเผาร่วมในเตาปูนซีเมนต์ โดยนำขยะพลาสติกที่ได้จากการรื้อร่อนหลุมฝังกลบมาผลิตเชื้อเพลิงขยะ หรือ RDF: Refuse Derived Fuel ใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์

SINTEF จากนอร์เวย์ และ อินทรี อีโคไซเคิล หาทางลดขยะพลาสติกสู่ทะเล

โดยทำการทดสอบในเงื่อนไขที่แตกต่างกันเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบที่เกิดขึ้น ประกอบกับวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเทคนิคต่าง ๆ รวมทั้งค่าความร้อนและการตรวจวัดค่ามาตรฐานโดยละเอียด ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยมีศักยภาพอย่างมากในการช่วยแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการรั่วไหลของขยะลงสู่มหาสมุทร

ดร.คอเร เฮลเก คาร์สเตนเซน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์และผู้จัดการโครงการ OPTOCE จากสถาบัน SINTEF แห่งนอร์เวย์ กล่าวว่า “ขยะพลาสติกจำนวนประมาณ 13 ล้านตันรั่วไหลสู่ทะเลและมหาสมุทรทุกปี และได้มีส่วนในการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ สถานะทางเศรษฐกิจ และสุขภาพของทุกคน

หากไม่มีการดำเนินการใด ๆ คาดว่าปริมาณขยะพลาสติก จะเพิ่มขึ้นถึงอีกสามเท่าภายในปี 2583  ทั้งนี้การร่วมมือปฏิบัติการระหว่างประเทศถือเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับขยะพลาสติกตั้งแต่ต้นทางก่อนที่จะรั่วไหลไปสู่ทะเลและมหาสมุทร โดยสำหรับโครงการศึกษาในประเทศไทย ได้ทำการศึกษาเมื่อเดือนมีนาคม 2566 นำขยะพลาสติกปริมาณมากที่ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ (Non-recyclable plastic waste : NRPW) 

นางสาวสุจินตนา วีระรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด หนึ่งในองค์กรที่มีบทบาทและเข้าร่วมโครงการนี้กล่าวว่า “การจัดการขยะพลาสติกที่มีมูลค่าต่ำไม่คุ้มทุนในการนำมารีไซเคิล หรือไม่สามารถรีไซเคิลได้ ด้วยเทคโนโลยีเผาร่วมของเสียในเตาเผาปูนซีเมนต์ (Co-Processing of Waste Materials in Cement Kiln) เป็นกระบวนการที่บูรณาการจัดการของเสียที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถนำพลังงานความร้อนจากขยะกลับมาใช้ใหม่

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/environment/1130421

Leave your comment
*
*