รีไซเคิลและจัดการของเสียอันตราย ทุ่ม 1 พันล้าน ตั้งโรงงานผลิตเคมีโลหะจากสารเร่งปฏิกิริยาที่ใช้แล้ว แห่งแรกในไทย

16 เมษายน 2567

พลัสเอ๊กซโพลเรชั่น’ จับมือ พาร์ทเนอร์จีน ทุ่มงบกว่า 1,000 ล้าน ตั้งโรงงานผลิตเคมีโลหะจากสารเร่งปฏิกิริยาที่ใช้แล้ว (Spent Catalyst) แห่งแรกในไทย

บริษัท พลัสเอ๊กซโพลเรชั่น จำกัด ผู้นำในการให้บริการในธุรกิจ Oil & Gas รวมถึงปิโตรเคมีและโรงผลิตไฟฟ้าในไทยมานานกว่า 15 ปี โดยบริษัทจำหน่ายสารเคมีประเภทสารเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) และอุปกรณ์ที่ใช้ในโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี นำโดย นายสิทธิชัย ตลับนาค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารนางสาวณัฐกฤตา 


กุลสิริธนกร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการสื่อสารนายเอกพงศ์ เอกลาภ ผู้จัดการฝ่ายบริหารงานโครงการและนางสาวศศิวิมล ปราสาททอง ผู้จัดการฝ่ายรีไซเคิลและจัดการของเสียอันตราย ได้ร่วมในพิธีลงนามในสัญญาร่วมทุนกับ Mr. Shen Xian Hua, General Manager of Hualong Limited, Mr. Su Yang, Director of Symo Development Limited และ MR. Shen Hanyu, Director of H.Y.Resources Technology (HK) Limited เมื่อวันที่เมษายน 2567 ที่ผ่านมา เพื่อก่อตั้งโรงงานผลิตเคมีโลหะจากสารเร่งปฏิกิริยาที่ใช้แล้ว (Spent Catalyst) แห่งแรกในไทยร่วมกัน

นายสิทธิชัย ตลับนาค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลัสเอ๊กซโพลเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า 
ได้ตัดสินใจร่วมลงทุนครั้งสำคัญกับนักธุรกิจสัญชาติจีนที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกันมาอย่างยาวนานกว่า 10 ปี ซึ่งเป็นความร่วมมือกับ 3 บริษัท ได้แก่ Hualong Limited, Symo Development Limited และ H.Y.Resources Technology (HK) Limited โดยทุกฝ่ายได้ลงนามในสัญญาร่วมทุน (Joint Venture Agreement) เพื่อจัดตั้งโรงงานผลิตเคมีโลหะจากสารเร่งปฏิกิริยาที่เสื่อมสภาพและไม่ใช้แล้วจากอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันและ ปิโตรเคมี ซึ่งเป็นโรงงานแห่งแรกในประเทศไทย ด้วยงบลงทุนร่วมกันกว่า 1,000 ล้านบาท

พาร์ทเนอร์ทั้ง 3 บริษัทนี้ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสกัดโลหะมีค่าจากสารเร่งปฏิกิริยาทั้งในจีนและเวียดนาม ในขณะที่ พลัสเอ๊กซโพลเรชั่น เองก็มีวัตถุดิบและฐานลูกค้าในไทยอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เราเล็งเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจที่จะสามารถเติบโตร่วมกันได้ จึงได้ลงทุนจัดตั้งโรงงานดังกล่าวขึ้นในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน ปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมหลักอื่น  
ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงงานนี้สามารถใช้เป็นวัตถุดิบขั้นพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าในรถยนต์ (EV CAR) อุตสาหกรรมผลิตเหล็ก สแตนเลสและเคมีอุตสาหกรรมอื่น ซึ่งโดยรวมจะช่วยลดการนำเข้าและยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากการส่งออกได้อีกด้วย

นายสิทธิชัย กล่าวต่อว่า โรงงานแห่งนี้จะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมธุรกิจตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเป็นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรธรรมชาติในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสีย วัตถุดิบ สินค้าที่หมดอายุ และพลังงาน ให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร โดยโรงงานจะเปิดให้บริการได้ในปี 2568 เป็นต้นไป

ความคิดเห็นของคุณ
*
*