รู้จัก ‘โมเดลเกาะเต่า’ จุดประกายแก้ปัญหาขยะล้นเกาะ
เกาะเต่า มีขยะเฉลี่ย 15-20 ตัน/วัน
คุณรัฎดา ลาภหนุน ผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายเกาะยั่งยืนประเทศไทย ได้เล่าว่า เกาะเต่ามีประชากรอยู่อาศัย 2,500 คน แต่มีประชากรแฝงรวมถึงแรงงานต่างด้าวเกือบหมื่นคน มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ 6-7 แสนคนต่อปี โดยมีปริมาณขยะ 15-20 ตันต่อวัน ขณะที่มีพื้นที่ฝังกลบขยะเพียง 4 ไร่ และลักษณะภูมิประเทศที่ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหิน ทำให้การขุดเพื่อฝังกลบขยะอย่างถูกต้องทำได้อย่างมีข้อจำกัด
ดังนั้น ความร่วมมือนี้ถือเป็นการริเริ่มการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบ เพื่อลดปริมาณขยะกำพร้าให้เหลือน้อยที่สุด โดยเริ่มจากขวด PET ซึ่งจะถูกนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลของอินโดรามา จากนั้นจะแปรรูปเป็นวัตถุดิบป้อนให้กับ OGGA Idea นำไปสร้างสรรค์เป็นสินค้าพรีเมียมสำหรับองค์กรภาคธุรกิจ
ก่อนหน้านี้ เครือข่ายเกาะยั่งยืนประเทศไทย ได้ร่วมมือกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมควบคุมมลพิษ และอีกหลายองค์กร รณรงค์ให้ลดการใช้ขวดแก้ว ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายจากเศษแก้วที่กระจายอยู่ตามชายหาด โดยขอให้เปลี่ยนมาใช้กระป๋องอลูมิเนียมแทน ผลปรากฏว่า ภายในระยะเวลาไม่ถึงปี สามารถลดตามแผนในการดำเนินงาน อินโดรามาตั้งเป้ารับซื้อขวด PET จากเกาะเต่าให้ได้เดือนละ 5 ตัน โดยรับมาแล้ว 10 ตัน (ณ เดือนกันยายน 2567) และจะมีรายงานกลับไปยังต้นทางว่า ขวดที่เก็บมามีคุณภาพเป็นอย่างไร จะต้องมีการปรับปรุงอะไรบ้าง เนื่องจากโรงงานรีไซเคิลของอินโดรามาเป็นมาตรฐาน Food Grade ซึ่งประเทศไทยเพิ่งปลดล็อกกฎหมายให้สามารถนำขวด PET ที่ใช้งานแล้วมารีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มอีกครั้ง นอกจากนี้ ขวด PET ยังถูกนำไปรีไซเคิลเป็นเส้นด้าย เส้นใย เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมายขวดแก้วบนเกาะจาก 70 ตันต่อเดือน เหลือแค่ 8 ตันในปัจจุบัน
Circularity Platform เพื่อ ซื้อ ขาย บริการ สำหรับวัสดุรีไซเคิล และ เศรษฐกิจหมุนเวียน