“พิมพ์ภัทรา” เปรียบกระทรวงอุตสาหกรรม “เสือหลับปลุกให้ตื่น” เร่งปรับอุตสาหกรรมที่กำลังตาย “สิ่งทอ เหล็ก” พร้อมเปลี่ยนไปสู่การเป็น New S-Curve เต็มที่ชู EV เป็นโปรดักต์แชมป์เปี้ยน เผยแนวคิดตั้งนิคมอุตสาหกรรม Circular พร้อมดันอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กู้ชีพ SMEs รับมือเกมการค้าโลกและแนวทางสู่คาร์บอนฟรุตพรินต์
วันที่ 24 มกราคม 2567 นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในงานมสัมมนา Thailand 2024 : The Great Challenges เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส ในหัวข้อ “เปิดโฉมอุตสาหกรรม-การทูตยุคใหม่ ในมุมมอง รมต.New Gen” จัดโดยหนังสือพิมพ์มติชน ว่า นโยบายและบทบาทของกระทรวงอุตสาหกรรมคือการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ จากเดิมที่เป็นเสือหลับได้ปลุกมันให้ตื่น ด้วยการส่งเสริมทั้งผู้ประกอบการในและต่างประเทศ
กรมอุตุฯเตือน 2-11 มิ.ย. อิทธิพลจากมรสุม มีฝนตกหนัก ช่วงบ่ายถึงค่ำ
ฝนลดลง ! กรมอุตุฯคาด 24 ชม.ข้างหน้า ฝนตก 40-60% ของพื้นที่
วิธีขึ้นทะเบียนเกษตรกรง่าย ช่วยให้ไม่พลาดรับสิทธิการช่วยเหลือจากรัฐ
รวมถึงอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคให้ได้ ด้วยไทยเรามีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมยังมีหน้าที่ดึงนักลงทุนเข้ามาและยังต้องรักษารายเก่าในประเทศไว้ด้วย อย่างผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องอยู่ให้ได้ด้วยมีกติกาการแข่งขันใหม่ที่เป็นตัวกีดกันทางการค้า รายใหญ่ไม่น่าห่วงเพราะมีทั้งทรัพย์และความรู้
เรื่องที่ห่วงคือ SMEs บางรายรู้ตัวบางรายยังไม่รู้ตัว และด้วยเทรนด์บริโภคที่เปลี่ยนไป จากรถยนต์สันดาปที่ไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) โจทย์คือจะรักษาอุตสาหกรรมที่ยังเป็นรถสันดาปไว้ให้ได้อย่างไร ซึ่งปัจจุบันมี สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ศสอ.) เป็นมันสมองที่ทำหน้าที่ในเรื่องของการรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการ การประเมินทิศทางของอุตสาหกรรม
ดังนั้นจึงต้องมีการเตือนและส่งสัญญาณให้กับผู้ประกอบการรู้ มีกี่รายที่กำลังได้รับผลกระทบ ด้วยการปรับตัวไม่ใช่การเปลี่ยน เพราะการเปลี่ยนคือการต้องลงทุนใหม่ โดยจะใช้เครื่องมือของ SME Bank สินเชื่อเข้ามาช่วย เช่น จากเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ปรับมาเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนการแพทย์ได้หรือไม่ เป็นต้น
ขณะที่อุตสาหกรรมเดิมที่กำลังมีปัญหาและต้องปรับตัวโดยเร็ว คือ อุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งส่วนนี้มีทางออกคือการดึงเรื่องของซอฟต์พาวเวอร์เข้ามาช่วย เป็นอีกหนทางการปรับตัวและเป็นโอกาสของผู้ประกอบการรายเล็กอย่างมาก และอุตสาหกรรมเหล็กที่โดนการแข่งขันจากการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ที่ต้องปรับตัว
สำหรับอุตสาหกรรมไทยที่ต้องผลักดัน ยังคงเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) โดยเฉพาะ EV ที่รัฐมีมาตรการสนับสนุนมาตั้งแต่ EV 3.0 และล่าสุดคือ EV 3.5 นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุด ที่ดึงนักลงทุนเข้ามาทั้งการตั้งฐานการผลิตที่ไทย ยังรวมไปถึงการลงทุนในส่วนของแบตเตอรี่ การจัดการเรื่องของซากแบตเตอรี่ ที่อยู่ระหว่างการศึกษาและผลักดันให้เกิด เช่นการนำไปรีไซเคิล ที่ไหน หรือนำกลับมาทำอะไรในอุตสาหกรรมใดได้บ้าง จากเรื่องนี้จะนำไปสู่การตั้งนิคมอุตสาหกรรม Circular
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ยังเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ไทยมีโอกาสอย่างมาก เนื่องจากไทยสามารถผลิตและส่งออกยุทโธปกรณ์ อย่าง รถถัง เรือรบ ปืน กระสุน ไปต่างประเทศได้ แต่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สรรพสามิต สรรพากร กลาโหม
แต่ยังมีอุปสรรคบางเรื่อง เช่น การนำเข้าเรือรบทั้งลำ กับนำเข้าชิ้นส่วนเพื่อมาประกอบ มีภาษีที่แตกต่างกัน แน่นอนว่าการนำเข้ามาแบบชิ้นส่วนไม่สามารถสู้ได้ ซึ่งจะทำอย่างไรที่จะช่วยกันและร่วมกันผลักดันอุตสาหกรรมนี้ให้ได้โอกาสที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ไทยยังใช้ข้อได้เปรียบในเรื่องของการค้าเสรี FTA เพื่อเดินหน้าอุตสาหกรรมฮาลาล หรือตั้งกรมฮาลาลขั้นมา โดยขณะนี้ได้รับการสนับสนุนจากทางประเทศซาอุดีอาระเบีย ในการเข้ามาช่วยเรื่องของการรับรองมาตรฐานฮาลาล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตราสินค้าที่ไทยจะส่งออกสินค้าอาหารฮาลาลไปยังประเทศคู่ค้า เพราะจากข้อมูลพบว่ามูลค่าตลาดของฮาลาลสูงถึง 2.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ไทยผลิตและส่งออกไปเพียง 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 2.7% เท่านั้น
เมื่อโอกาสมีมากและไทยมีความพร้อมทั้งวัตถุดิบและตลาด การดึงเอาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเริ่มต้นด้วยการให้ สถาบันอาหาร เป็นหน่วยงานหลักในเรื่องนี้จึงเกิดขึ้น สเต็ปถัดไปคือการตั้งกรมฮาลาลที่จะเสนอเข้า ครม. ต่อไปในอนาคต แน่นอนว่าการลุยตลาดฮาลาลเพียงเริ่มต้นที่ส่งออกไปจีนอย่าง อาหาร เครื่องสำอาง เมล็ดพันธุ์พืช ก็สามารถผลักดันให้ตลาดนี้โตได้ 1-2 เท่าภายใน 1-2 ปีได้ไม่ยาก
“หน้าที่ของเราไม่แค่ส่งเสริมและสนับสนุน แต่เราต้องอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนด้วย ตอนนี้นักลงทุนถามหาเรื่องพลังงานสะอาด ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เริ่มคุยและทำเรื่อง green energy green industrial green productivity และเพื่อให้ผู้ประกอบการมีวัคซีนสู้กับมาตรการกีดกันทางการค้า กติกาใหม่ของโลก นี่จึงถือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการเพื่อการแข่งขัน อย่างกติกาคาร์บอน ปัญหาตอนนี้คือรายเล็กรายย่อยตาสีตาสา เขายังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกับเรื่องคาร์บอนฟรุตพรินต์ นี่คือความท้าทายของอุตสาหกรรม ที่ต้องช่วย SMEs ให้อยู่ได้”