บพข. ร่วมมือ UNDP, CIRAC, Global R&D ทีมวิจัยจุฬาฯ และชุมชนวัดจากแดง แก้ปัญหาขยะถุงวิบวับอย่างยั่งยืน ด้วยเครื่องจักรไพโรไลซิสแบบต่อเนื่อง

1 ธันวาคม 2566

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

อาจเป็นรูปภาพของ เครื่องชงชา, น้ำหอม และ ข้อความ

อาจเป็นรูปภาพของ 13 คน และ ข้อความ

อาจเป็นรูปภาพของ 2 คน และ ข้อความ

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ห้องข่าว

อาจเป็นรูปภาพของ 8 คน และ ข้อความพูดว่า "n อบพข. CIRAC DEMO DAY UNDP THAILAND WAT CHAK DAENG PHRA PRADAENG, SAMUT PRAKAN GLOBALR&"

อาจเป็นรูปภาพของ 2 คน และ ข้อความพูดว่า "U S CIRAC DEMO DAY UNDP THAILAND WAT CHAK DAENG PHRA PRADAENG, SAMUT PRAKAN GLOBALR&D DP"

อาจเป็นรูปภาพของ 6 คน และ ข้อความพูดว่า "@u N CIRAC DEMO DAY UNDP THAILAND WAT CHAK DAENG PHRA PRADAENG, SAMUT PRAKAN"

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน, กำลังอ่านหนังสือ และ ข้อความ

อาจเป็นรูปภาพของ 5 คน และ ข้อความ

อาจเป็นรูปภาพของ 8 คน และ ผู้คนกำลังตีกอล์ฟ

อาจเป็นรูปภาพของ ประตูหมุน และ ข้อความ

อาจเป็นรูปภาพของ เครื่องทำน้ำอุ่น และ โรงกลั่นน้ำมัน

อาจเป็นรูปภาพของ เครื่องทำน้ำอุ่น

อาจเป็นรูปภาพของ เครื่องทำน้ำอุ่น, โรงกลั่นน้ำมัน และ ข้อความ

อาจเป็นรูปภาพของ เครื่องทำน้ำอุ่น และ โรงกลั่นน้ำมัน

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

บพข. ร่วมมือ UNDP, CIRAC, Global R&D ทีมวิจัยจุฬาฯ และชุมชนวัดจากแดง แก้ปัญหาขยะถุงวิบวับอย่างยั่งยืน ด้วยเครื่องจักรไพโรไลซิสแบบต่อเนื่อง รีไซเคิลอะลูมิเนียมและพลาสติกใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ♻️
วันที่ 1 ธ.ค. 2566 ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมเจ้าหน้าที่ ร่วมเปิดตัวเครื่องจักรไพโรไลซิสแบบต่อเนื่องสำหรับรีไซเคิลอะลูมิเนียมจากขยะพลาสติกผสมชั้นอะลูมิเนียม หรือที่รู้จักกันดีในรูปชื่อ “ถุงวิบวับ” เพื่อชั้นแยกอะลูมิเนียมออกจากพลาสติก (Laminated Plastic) และนำอะลูมิเนียมที่แยกได้มาหลอมเป็นอะลูมิเนียมก้อนที่มีความบริสุทธิ์สูงมากกว่า 97% ที่สามารถนำกลับไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีความต้องการใช้อลูมิเนียมได้ ในขณะที่ขยะพลาสติกที่เหลืออยู่จะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงและขายต่อได้ นอกจากนี้ยังมีผลิตผลพลอยได้เป็นก๊าซเชื้อเพลิง (Fuel Gas) ซึ่งนำมาใช้แทน LPG เป็นการช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือกระจกได้อีกทางหนึ่ง โดยเครื่องไพโรไลซิสนี้ ได้รับการออกแบบพัฒนาในระดับ Lab scale โดย CIRAC ภายใต้การสนับสนุนจาก UNDP ต่อมาได้ร่วมกับทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บริษัท โกลบอล อาร์แอนด์ดี จำกัด เพื่อ scale up เทคโนโลยีจากระดับ Lab scale สู่ระดับ Pilot scale ภายใต้การสนับสนุนทุนในการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรจาก บพข. แผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อสร้างเครื่องจักรไพโรไลซิสที่มีประสิทธิผลสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยทีมวิจัยได้ติดตั้งเครื่องไว้ดังกล่าวที่วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้และทดลองแยกขยะในชุมชนที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยในวันนี้ทีมผู้พัฒนาได้จัดงาน “CIRAC Demo Day” ขึ้นเพื่อสาธิตการทำงานของเครื่องไพโรไลซิส พร้อมเชิญบริษัทเอกชนต่าง ๆ ร่วมชมการทำงานของเครื่องและหารือแนวทางการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป ซึ่มทีมวิจัยคาดว่า หากโครงการนี้ได้รับการขยายผลสู่เชิงพาณิชย์สำเร็จ จะมี potential profit จากการจำหน่ายอะลูมิเนียมรีไซเคิลได้ถึง 140 - 340 ดอลล่าสหรัฐต่อตัน ซึ่งจะไม่เพียงแก้ปัญหาขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกผสมชั้นอะลูมเนียมที่ยังไม่มีใครสามารถจัดการอย่างยั่งยืนในระดับชุมชนและระดับประเทศเท่านั้น แต่ยังสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจากกระบวนการผลิตอลูมิเนียม และลดการนำเข้าของอะลูมิเนียมจากต่างประเทศอีกด้วย
อ่านเพิ่มได้ที่ https://pmuc.or.th/laminated-plastic-recycle/

 

ความคิดเห็นของคุณ
*
*